ออกแบบ
ชื่อเครื่องจักร: เครื่องตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ [ออกแบบและผลิตให้กับบริษัท เจนเนเร็กซ์ เทคโนโลยี จำกัด]
การทำงานหลัก: เครื่องสามารถป้อนชิ้นงานและทำการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่อง หากพบชิ้นงานที่ไม่ตรงตามมาตรฐานจะมีสัญญาณแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบแล้วทำการคัดแยกต่อไป
การออกแบบ: การนำกล้องหรืออุปกรณ์ตรวจสอบความถูกต้องของชิ้นงานโดยใช้ภาพมาประมวลผลความถูกต้องของชิ้นงาน โดยระบบมีการควบคุมการทำงานด้วย PLC
ชื่อเครื่องจักร: เครื่องลำเลียงเพลารถยนต์ภายในห้องฉายรังสีตรวจสอบคุณภาพเพลา[ออกแบบและให้คำปรึกษากับ บริษัท ฟราเท็ม จำกัด]
การทำงานหลัก: เครื่องลำเลียงเพลาสามารถเลื่อนออกไปรับเพลาภายนอกห้องได้ ในขณะเดียวกันสามารถนำเพลาที่ทำการตรวจสอบคุณภาพเสร็จสิ้นแล้วออกสู่ภายนอกห้องฉายรังสีได้เพื่อเข้าสู่กระบวนการอื่นต่อไป
การออกแบบ: ออกแบบให้เครื่องมีความรวดเร็วในการทำงาน ดังนั้นชิ้นส่วนต่างๆของเครื่องจึงต้องมีน้ำหนักเบาและมีขนาดที่เหมาะสม จึงต้องใช้ความรู้ในด้านการวิเคราะห์ความแข็งแรงในทางวิศวกรรมมาช่วยในการออกแบบ
ชื่อเครื่องจักร: ระบบประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติ [ออกแบบ ผลิต และติดตั้งให้กับ บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน)]
การทำงานหลัก: ระบบประตูเปิด-ปิดอัตโนมัติสามารถกดปุ่มสั่งการทำงานและหยุดการทำงานได้โดยอัตโนมัติ
การออกแบบ: การออกแบบและเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมที่สุดต่อการทำงานของระบบด้วยความรู้ทางวิศวกรรมในด้านการคำนวนน้ำหนักของบานประตูที่มีผลต่อการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมและการวิเคราะห์ความแข็งแรงของโครงสร้างประตูที่ส่งผลมาจากการควบคุมน้ำหนักของโครงสร้างประตู
ชื่อเครื่องจักร: เตาเผาพลอยอุณหภูมิสูง 1,800 องศาเซลเซียสในสภาวะไร้ออกซิเจน [ร่วมออกแบบและผลิตกับสถาบันอัญมณีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]
การทำงานหลัก: สามารถสั่งการและดูผลการทำงานของเตาเผาจากที่ต่างๆได้ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ระบบเตาเผาสามารถสร้างสภาวะไร้ออกซิเจนในห้องเผาได้ด้วยการจ่ายก๊าซเฉื่อย(อาร์กอน)เข้าสู่ห้องเผาอย่างต่อเนื่องตลอดการเผา
การออกแบบ: ออกแบบการทำงานต่างๆของระบบเตาเผาให้ตรงต่อความต้องการของผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการเผาพลอย โดยใช้ความรู้ในการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ต่างๆที่สามารถทนต่อความร้อนสูงถึง 1,800 องศาเซลเซียสได้ รวมถึงการใช้ความรู้ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆให้มีความถูกต้องและเหมาะสมเนื่องจากไม่สามารถยอมให้เกิดความผิดพลาดในการทำงานที่มีอุณหภูมิได้เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน
ชื่อเครื่องจักร: ระบบสายพานลำเลียงเศษชิ้นงานจากกระบวนการผลิต ออกแบบและให้คำปรึกษากับบริษัท บีจี แพ็ค จำกัด]
การทำงานหลัก: ระบบสายพานลำเลียงนี้สามารถลำเลียงเศษชิ้นงานได้อย่างต่อเนื่องโดยอัตโนมัติ ให้สอดคล้องกับกำลังและกระบวนการผลิต
การออกแบบ: เป็นการออกแบบระบบสายพานลำเลียงที่เข้าไปตั้งติดอยู่ในระบบเครื่องจักรเดิมในกระบวนการผลิตซึ่งมีพื้นที่จำกัด ดังนั้นการออกแบบจึงต้องใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบเพื่อให้เกิมความผิดพลาดในการออกแบบน้อยที่สุด รวมถึงการเลือกใช้วัสดุและอุปกรณ์ให้เหมาะสมต่อการใช้งาน
ชื่อเครื่องจักร: แขนกลเก็บผลไม้ [ออกแบบและผลิตตัวต้นแบบด้วยทุนสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี]
การทำงานหลัก: ผู้ใช้งานสามารถควบคุมการทำงานของแขนกลได้ด้วยกล่องควบคุมหรือรีโมทคอนโทรล แขนกลสามารถหมุนรอบตัวเองได้ 0–300 องศา สามารถหมุนขึ้น-ลงทำมุมได้ 0–85 องศา และสามารถเลื่อนเพื่อเพิ่มความยาวของแขนกลได้มีความสูงสูดประมาณ 5 เมตร ระบบการเคลื่อนที่ของแขนกลทำงานได้ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า
การออกแบบ: แขนกลนี้ออกแบบโดยเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงและสามารถกันน้ำได้เป็นการป้องกันอันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูด เนื่องจากการใช้งานในสวนผลไม้มีโอกาสที่จะมีน้ำเข้ามาโดนระบบแขนกลนี้ได้ รวมถึงการออกแบบชิ้นส่วนหรือโครงสร้างต่างๆของแขนกลจะต้องมีความแข็งแรงเพื่อป้องกันอันตรายขณะใช้งาน ดังนั้นจะต้องใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมในการออกแบบขนาด รูปร่าง และการเลือกใช้อุปกรณ์ต่างๆให้มีความเหมาะสมต่อการใช้งาน